โทรศัพท์
Mail Us
admin@ticpa.or.th
Digital Footprint: ร่องรอยดิจิทัล
อัปเดตล่าสุด : 05/03/2025
Digital Footprint หรือ ร่องรอยดิจิทัล มันคือร่องรอยที่คุณทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ ทุกครั้งที่คุณท่องอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ข้อความ แสดงความคิดเห็น กดไลก์ แชร์รูปภาพ หรือแม้แต่การค้นหาข้อมูลร่องรอยเหล่านี้จะบ่งบอกถึงตัวตน ความสนใจ และพฤติกรรมของคุณ
Digital Footprint หรือ ร่องรอยดิจิทัล
มันคือร่องรอยที่คุณทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ ทุกครั้งที่คุณท่องอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ข้อความ แสดงความคิดเห็น กดไลก์ แชร์รูปภาพ หรือแม้แต่การค้นหาข้อมูลร่องรอยเหล่านี้จะบ่งบอกถึงตัวตน ความสนใจ และพฤติกรรมของคุณ เปรียบเสมือนร่องรอยที่คุณทิ้งไว้บนผืนทราย แต่มันอาจคงอยู่ถาวร และยากที่จะลบเลือน ไม่เหมือนรอยเท้าบนผืนทรายที่กระแสน้ำอาจพัดกลืนหายไป

บนโลกออนไลน์ ทุกสิ่งที่คุณทำล้วนทิ้ง "ร่องรอย" ไว้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

1.ร่องรอยดิจิทัลแบบไม่ตั้งใจ (Passive Digital Footprint) 
คือร่องรอยที่มีการเก็บโดยอัตโนมัติจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ซึ่งอาจไม่เปิดเผยข้อมูลโดยตรง
แต่อาจถูกนำไปใช้ในทางการตลาด เช่น
  • ประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ (Browsing History)
  • ประวัติการค้นหา (Search History) บันทึกคำค้นหาที่เราเคยใช้
  • ข้อมูลการใช้งานแอปพลิเคชัน เช่น เวลาที่ใช้ ความถี่ในการใช้งาน
  • Cookies คุกกี้หรือไฟล์ขนาดเล็กที่เว็บไซต์เก็บไว้ในอุปกรณ์ของเรา เพื่อจดจำข้อมูลการใช้งาน
  • และปรับแต่งประสบการณ์ใช้งาน
  • IP Address หรือ หมายเลขของอุปกรณ์ที่เราใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
2. ร่องรอยดิจิทัลแบบตั้งใจ (Active Digital Footprint) คือข้อมูลที่เราจงใจสร้างและเผยแพร่
บนโลกออนไลน์ด้วยตัวเอง โดยตั้งใจให้คนอื่นเห็นหรือเข้าถึงข้อมูลพวกนี้ เช่น
  • การโพสต์บนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะข้อความ รูปภาพ วิดีโอ
  • การแสดงความคิดเห็น หรือรีวิวสินค้า/บริการ บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ
  • อีเมลที่เราส่งให้ผู้อื่น
  • โปรไฟล์ออนไลน์ ทั้งข้อมูลส่วนตัวและประวัติที่เราสร้างขึ้นบนเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ
  • การสมัครสมาชิกเว็บไซต์หรือบริการออนไลน์ต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราเพื่อสมัคร
ร่องรอยดิจิทัล: สำคัญไฉน? ส่งผลยังไง?
"สิ่งที่คุณโพสต์วันนี้ อาจกำหนดอนาคตของคุณในวันข้างหน้า" ร่องรอยดิจิทัลของคุณส่งผลกระทบ
ต่อชีวิตคุณในหลาย ๆ ด้าน มากกว่าที่คุณคิด
 
     - การหางาน: รู้หรือไม่ว่า นายจ้างในยุคนี้มักจะค้นหาชื่อของคุณบน Google ก่อนเรียกสัมภาษณ์?
ร่องรอยดิจิทัลที่ไม่เหมาะสม เช่น โพสต์แสดงความเกลียดชัง รูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือความคิดเห็นเชิงลบ
อาจส่งผลเสียต่อโอกาสในการได้งานของคุณ
     - การศึกษา: มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่าง ๆ อาจตรวจสอบร่องรอยดิจิทัลของผู้สมัครทุนการศึกษา
โพสต์ที่แสดงถึงทัศนคติที่ไม่ดี อาจทำให้คุณพลาดโอกาสสำคัญ
     - ความสัมพันธ์: โพสต์เก่าๆ ที่คุณลืมไปแล้ว อาจกลับมาทำร้ายความสัมพันธ์ส่วนตัวได้อย่างไม่คาดคิด
เช่น แฟนเก่าขุดโพสต์ในอดีตของคุณ
     - ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว: การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป อาจทำให้คุณตกเป็นเป้าหมาย
ของมิจฉาชีพ ถูกขโมยข้อมูล (Identity Theft) หรือถูกคุกคามทางไซเบอร์ (Cyberbullying)
     - ชื่อเสียงและภาพลักษณ์: ร่องรอยดิจิทัลของคุณสร้างภาพลักษณ์ของคุณในโลกออนไลน์ ซึ่งอาจส่งผล
ต่อชื่อเสียงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
 
แต่ร่องรอยดิจิทัลก็มีด้านบวก หากใช้อย่างชาญฉลาด Digital Footprint สามารถสร้างโอกาสมากมาย
ดังเช่นกรณีศึกษาต่อไปนี้
 
     - การสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล คุณมาริสา (นามสมมติ) สร้าง Digital Footprint ด้านการเงินการลงทุนผ่าน
LinkedIn และ Medium จนประสบความสำเร็จ โดยแชร์บทความวิเคราะห์การลงทุนที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ
สร้างเครือข่ายในวงการการเงิน และได้รับโอกาสเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาการลงทุน
 
     - การสร้างธุรกิจออนไลน์ คุณสมชาย (นามสมมติ) เริ่มจากการรีวิวร้านอาหารจนกลายเป็นอาชีพ
สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและจริงใจ พัฒนาเอกลักษณ์การนำเสนอที่โดดเด่น จนสามารถสร้างรายได้หลักจากการรีวิว
 
จัดการร่องรอยดิจิทัลยังไง ให้เป็น ‘ร่องรอยที่คุณภูมิใจ!’
โลกออนไลน์ไม่มีปุ่ม "ลบอดีต" แต่คุณสามารถเรียนรู้วิธีสร้างร่องรอยที่คุณภูมิใจได้ เริ่มต้นง่าย ๆ ดังนี้

1. คิดก่อนคลิก ถามตัวเองก่อนโพสต์ว่า "สิ่งนี้จำเป็นไหม?" "ถ้าคนอื่นมาเห็นจะส่งผลกระทบอะไรกับฉันในอนาคต?"
"ฉันจะรู้สึกอย่างไรถ้าข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ?"
2. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ตรวจสอบและตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในทุกแพลตฟอร์มอย่างรอบคอบ ไม่จำเป็นต้อง
เปิดเผยทุกอย่างสู่สาธารณะ
3. ทำความสะอาดร่องรอย ลบประวัติการค้นหาและคุกกี้เป็นประจำ รวมทั้งค้นหาชื่อตัวเองบน Google อยู่เสมอ
เพื่อลบบัญชีที่ไม่ใช้งานแล้ว แก้ไข หรือลบข้อมูลที่ไม่ต้องการให้ปรากฏ
4. เครื่องมือช่วยจัดการ พิจารณาใช้เครื่องมือหรือบริการที่ช่วยจัดการข้อมูลส่วนบุคคลออนไลน์ เช่น Google Alerts
ที่แจ้งเตือนเมื่อมีการกล่าวถึงชื่อคุณ หรือ BrandYourself ที่ช่วยจัดการชื่อเสียงออนไลน์ รวมทั้งใช้ VPN ในกรณีต้องใช้
Wi-Fi สาธารณะ เมื่อต้องการเช้าถึงข้อมูลส่วนตัว เนื่องจาก VPN ช่วยให้บุคคลที่ 3 เข้าถึงหรือติดตามกิจกรรมออนไลน์
ของเราได้ยากขึ้นและหมายเลข IP ที่แท้จริงจะถูกปิดบังไว้
5.  คิดระยะยาว สร้างร่อยรอยดิจิทัลที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ที่คุณต้องการสร้างในระยะยาว มุ่งเน้นการโพสต์เนื้อหา
ที่เป็นประโยชน์ สร้างสรรค์ และสะท้อนตัวตนในแง่บวก
6. ตระหนักถึง PDPA ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพื่อให้รู้สิทธิและหน้าที่
ในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณ